วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่าง DMAIC กับ SDLC

การเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่าง DMAIC กับ SDLC

ในปัจจุบันโลกของการแข่งขันด้านธุรกิจนับว่ามีความรุนแรง บริษัทต่าง ๆ ได้มีความพยายามหาวิธีการที่จะทำให้บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น หลายบริษัทได้พยายามหาเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อมาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ ปรับปรุงขบวนการผลิต ให้มีคุณภาพมากขึ้น ขวนการปรับปรุงคุณภาพจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาหลายเทคนิควิธีการ ในปัจจุบันมีขบวนการปรับปรุงคุณภาพที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้กันมากขึ้น และในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางได้แก่ ซิกซ์ ซิกม่า ซึ่งในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ซิกซ์ ซิกม่ากับงานต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และการบริการ พบว่าในการทำโครงแบบซิกซ์ ซิกม่า ได้รับความสนใจกับผู้ประกอบต่าง ๆ นำวิธีการมาใช้กับมากขึ้น

ซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma)
กระบวนการทำโครงการซิกซ์ ซิกม่ามีชื่อเรียกว่า ดีมาอิก (DMAIC) ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 5 ขั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ขั้นกำหนด (Define) เป็นการกำหนดปัญหา ระบุลูกค้า สร้างแผนที่กระบวนการ กำหนดขอบข่ายของโครงงาน และผังการปรับโครงงาน ดังนี้
1.1 Business Goal : เป็นการกำหนดหัวข้อโครงการ คือ การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ เช่น ความสามารถในการทำกำไรให้สูงขึ้น
1.2 Strategies : จากเป้าหมายหลักหรือเป้าหมายในระดับกลยุทธ์ขององค์กร ขั้นตอนนี้ คือ การมอบหมายให้ฝ่ายต่าง ๆ กลับไปประชุมเพื่อพิจารณาหากลยุทธ์ ในการดำเนินงานที่สอดคล้างกับเป้าหมายหลักขององค์กร เช่น เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมาย OP/SL ที่เพิ่มขึ้น 15% ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงเสนอกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารลง ส่วนฝ่ายผลิตเสนอกลยุทธ์ในการลดต้นทุนการผลิต และฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เสนอการพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นในขณะที่ประหยัดต้นทุนการผลิต
1.3 High Potential Area : เมื่อแต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการแล้ว และหลังจากได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารรวมทั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ซึ่งสามารถทำได้ 4 ลักษณะ คือ
1.3.1 กำหนดพื้นที่ตัวอย่าง เช่น แผนก หรือ สายการผลิต ฯลฯ
1.3.2 กำหนดตามลักษณะของปัญหา เช่น ปัญหาของเสียจากงานซ่อม คุณภาพของวัตถุดิบ ฯลฯ

1.3.3 กำหนดผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง
1.3.4 กำหนดเครื่องจักรตัวอย่าง
ในการกำหนดพื้นที่ในการดำเนินงาน เราต้องมั่นใจว่าผลที่ได้รับจากการดำเนินงานอยู่ในระดับสูงจนน่าพอใจ เช่น ฝ่ายบริหารเลือกแผนกการตลาดเป็นที่พื้นที่ตัวอย่างในการปรับปรุงโดยเน้นการลดต้นทุนการบริหารด้านการตลาดลง ในขณะที่ฝ่ายผลิตเลือกงานเสียและงานซ่อมและคุณภาพของวัตถุดิบเป็นปัญหาในการปรับปรุง ส่วนฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เลือกการพัฒนาสินค้าจำพวกเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทั้งสามฝ่ายมีจุดประสงค์ร่วมกันคือ ช่วยเพิ่ม OP/SL ของบริษัทให้ได้อย่างน้อย 15% ตามเป้าหมายที่วางไว้
1.4 Improvement and Implementation : ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากกำหนดพื้นที่ในการปรับปรุงได้แล้ว จึงพิจารณาหัวข้อในการดำเนินโครงการ เช่น ฝ่ายบริหารเลือกหัวข้อการดำเนินโครงการ 2 เรื่อง คือการปรับปรุงประสิทธิภาพในการสำรวจลูกค้า ให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็วถูกต้องและประหยัดมากขึ้น และการปรับปรุงประสิทธิภาพในการพยากรณ์ปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้า ซึ่งทั้งสองโครงการอยู่ในพื้นที่หรือแผนกการตลาด ส่วนฝ่ายผลิตเลือกการลดของเสีย งานซ่อม และการสรรหาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวข้อในการดำเนินโครงการ สำหรับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เลือกการออกแบบผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้กระบวนการ ซิกซ์ ซิกม่า (DFSS : Design for Six Sigma) เป็นหัวข้อในการดำเนินโครงการ
2. ขั้นวัดผลตัวชี้วัด (Measure) เป็นขั้นตอนระบุวิธีวัดผลและตัวแปรที่ใช้ในการวัดผลอธิบายประเภทของข้อมูล และพัฒนาแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
2.1 Plan Project with Metrics คือ การวางแผนและดำเนินการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะในการดำเนินโครงงาน เช่น เริ่มจากการเก็บรวมรวมข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือการบริการและพิจารณาว่าแท้จริงลูกค้ามีความต้องการอะไร แต่บางครั้งพบว่าผู้ผลิตมากทำเกินความต้องการหรือเน้นคุณภาพในจุดที่ลูกค้าไม่ค่อยให้ความสำคัญ
2.2 Baseline project คือ การวัดค่าความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบันโดยวัดผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เลือกสรรมาจากจากขั้นตอน Plan Project with Metrics แล้วนำค่าที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายขององค์กรหรือเปรียบเทียบกับข้อกำหนดด้านคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ
2.3 Consider Lean Tools คือ วิธีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของวิศวกรรม เช่น การตรวจประเมินสัดส่วนของการทำงานที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่องานที่ทำทั้งหมดในกระบวนการ การวิเคราะห์ผังการไหลของงาน การวิเคราะห์หาจุดคอขวดของการทำงาน เป็นต้น
2.4 Measurement System Analysis (MSA) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ Gage R&R เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนจะเริ่มปรับปรุงกระบวนการเปรียบได้กับการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงานว่ามีความผิดปกติหรือไม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติงาน เพราะถ้ากระบวนการตรวจวัดไม่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานผลข้อมูล เช่น หลักการปรับปรุงอาจวัดค่าต้นทุนการผลิตได้ 140 บาท/ชิ้น แต่หากกระบวนการตรวจวัดไม่มีประสิทธิภาพหรือมีค่า Gage Error สูง เราก็ไม่อาจทราบค่าตัวเลขตรวกับความเป็นจริงได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม่ Gage R&R มีความสำคัญมากในโครงการซิกซ์ ซิกม่า
2.5 Organization Experience คือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานจะบอกได้ว่ามีอะไรที่ต้องปรับปรุงงาน หรือค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาได้รวดเร็ว
3. ขั้นวิเคราะห์ (Analyze) เป็นขั้นตอนการทบทวนเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ กดำเนินการวิเคราะห์ผลของตัวชี้วัด ที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาเราเรียกสาเหตุหลักว่า KPIV (Key Process Input Variable) ในขั้นตอนนี้ Black Belt ต้องระบุให้ชัดเจนว่าอะไรคือ KPIV ของปัญหา อีกทั้งสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง ต้นทุนการผลิต เป็น Output หรือเรียกว่า KPOV (Key Process Output Variable) ได้แก่
3.1 การตรวสอบสมมติฐาน (Hyprthesis Testing)
3.2 ผังการกระจาย (Scattering Diagram)
3.3 การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)
4. ขั้นปรับปรุง (Improve) เป็นขั้นตอนของการดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานตามที่วิเคราะห์เอาไว้ เพื่อให้ได้ค่าวัดผลจากตัวชี้วัดที่ดีขึ้น ทำให้เราได้ทราบสาเหตุหลักหรือ KPIVของกระบวนการ ซึ่งเป็นการปรับตั้งค่า KPIV โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นไปตามต้องการด้วยการใช้ เทคนิควิธีดังนี้
4. 1 เทคนิคการออกแบบการทดลอง (Design of Experiment : DOE)
4.2 เทคนิคขั้นสูงและมีความซับซ้อน (Response Surface Methodology : RSM)
5. ขั้นควบคุม (Control) เป็นขั้นตอนของการดำเนินการควบคุมกระบวนการให้ดำเนินต่อไปโดยไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเกิดขึ้นซ้ำอีก การออกแบบวิธีการควบคุมมั่นใจในการดำเนินงานทุกวันกระบวนการจะไม่ย้อนกลับไปเป็นแบบเดิมอีก การออกแบบวิธีการควบคุมกระบวนการนี้ได้แก่ การฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิธีการทำงานแบบใหม่ การแก้ไขข้อกำหนดในคู่มือการทำงาน การออกแบบระบบการเฝ้าติดตามและการตรวจสอบคุณภาพของการบวนการและการใช้ SPC (Statistical Process Control) ในการควบคุมกระบวนการเป็นต้น





การพัฒนาระบบด้วยวงจรการพัฒนาระบบ วงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวิธีการที่นักวิเคราะห์ระบบใช้ในการพัฒนาระบบงาน เพื่อใช้ลำดับของกิจกรรมที่จะใช้ทำก่อนหลัง เพื่อพัฒนาระบบงานให้ง่ายขึ้น โดยจะทำรายงานขั้นตอนการทำให้ผู้บริหารตัดสินใจ ว่าจะดำเนินตามขั้นตอนหรือจะเปลี่ยนทิศทางของการทำโครงการหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) เป็นการกำหนดปัญหาหรือเข้าใจปัญหาเป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบต้องเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้ โดยมีขั้นตอนในการกำหนดปัญหาดังนี้ คือ
1.1 เป้าหมายในการทำโครงการทั้งหมด ซึ่งเป็นทิศทางของการทำโครงการ
1.2 ขอบเขตของโครงการ ในการกำหนดปัญหา ต้องกำหนดกิจกรรมของปัญหาของระบบงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งข้อกำจัด เงื่อนไขต่าง ๆ ของการทำโครงการ
1.3 จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการทำโครงการ และจำนวนบุคลากรที่ต้องใช้
2. การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการทำโครงการ ซึ่งอาจมีหลายแนวทางโดยให้เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาให้น้อยที่สุด โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ
2.1 ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค
2.2 ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ
2.3 ความเป็นได้ด้านการลงทุน
3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการศึกษาขั้นตอนระบบเดิมที่เป็นปัจจุบันเพื่อค้นหาว่าทำงานอย่างไร มีปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง หรือผู้ใช้ระบบต้องการให้เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง นักวิเคราะห์ระบบต้องเก็บรวบรวมข้อมูล (Fact – Gathering Techniques) โดยศึกษาเอกสารที่ใช้ในระบบปัจจุบัน การตรวจสอบวิธีการทำงานในปัจจุบันด้วยการสังเกต การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ใช้ และผู้บริหารรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับระบบ การเก็บข้อมูลได้แก่ แผนผังการบริหารงานในองค์กร คู่มือการทำงาน แบบฟอร์มรายงานต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหากับระบบเดิม รายงานในขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วย
3.1 รายละเอียดการทำงานของระบบเดิม โดยเขียนแผนภาพประกอบคำบรรยาย
3.2 การกำหนดความต้องการหรือเป้าหมายระบบใหม่ โดยเขียนแผนภาพประกอบคำบรรยาย
3.3 ประมาณการทุนและกำไร ในการดำเนินการระบบใหม่
3.4 คำอธิบายวิธีการทำงานและการอธิบายปัญหาของระบบที่ละเอียดขึ้นกว่าเดิม ที่จะอธิบายขั้นตอนการกำหนดของปัญหา
จากข้อมูลขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้และผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ของระบบใหม่ต่อไป
4. การออกแบบระบบ (System Design) เป็นการออกแบบเพื่อเสนอระบบใหม่ ได้แก่ การออกแบบรายงาน (Report Format) การออกแบบผลการแสดงบนจอภาพ (Screen Format) การป้อนข้อมูล (Input) การคำนวณ (Calculate) การเก็บข้อมูล (Stored) การออกแบบโครงสร้างแฟ้มข้อมูล (File Structure) เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล (Storage Device) ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล (Process Data) การสำรองข้อมูล (Backup Data) และการออกแบบให้มีความปลอดภัย (Security) ของระบบ และการกำหนดบุคลาครที่ใช้ในระบบใหม่
5. การสร้างระบบ หรือพัฒนาระบบ (System Construction) เป็นการสร้างส่วนประกอบของระบบโดยเริ่มเขียนโปรแกรมและทดสอบโปรแกรม พัฒนาการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ และฐานข้อมูลจากข้อมูลต่าง ๆ ของระบบ โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบระบบ ภายหลังจากการเขียนและทดสอบโปรแกรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย จะต้องเขียนคู่มือการใช้งาน พจนานุกรม และส่วนช่วยเหลือบนจอภาพ เป็นต้น
6. การติดตั้งระบบ (System Implementation) เป็นการนำส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนการสร้างหรือพัฒนาระบบนำมาติดตั้งใช้งานจริง การติดตั้งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
6.1 การติดตั้งและใช้ใหม่ควบคู่กับระบบเก่า
6.2 ปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ทั้งหมดโดยหยุดทำงานระบบเก่า
ในขั้นตอนนี้ต้องมีการอบรมผู้ใช้ระบบให้มีความเข้าใจในการทำงาน สามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
7. การประเมินผลและการบำรุงรักษาระบบ (Post – implementation reviews and maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาระบบ ภายหลังขั้นตอนการติดตั้งระบบและมีการใช้งานในระบบใหม่พอสมควร ต้องมีการประเมินผลการทำงานของระบบ สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการที่ได้วางไว้
ส่วนการบำรุงรักษานั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำ เพื่อขจัดความผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของระบบ การบำรุงรักษาระบบต้องมีการวางแผนระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินลงทุนที่มีอยู่





บทสรุป การเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง จุดเด่นและจุดด้อยของการพัฒนาระบบสารสนเทศทั้งสองแบบ ด้วยการใช้เครื่องมือ Six sigma กับวิธีการ SDLC
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างของจุดเด่นและจุดด้อยของการพัฒนาสารสนเทศทั้งสองแบบ
Six Sigma
SDLC
ข้อเหมือน
1. มีการกำหนดขั้นตอนแน่นอน
2. มุ่งเน้นคุณภาพ
3. มีการกำหนดเงื่อนไข
4. มีการวิเคราะห์
5. มีการควบคุม

จุดเด่น
1. ให้ความสำคัญของลูกค้า
2. มีขอบเขตที่แน่นอนในการปรับปรุง
3. เน้นที่ขบวนการผลิต
4. มุ่งเน้นผลกำไรและลดการศูนย์เสีย
5. เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์
6. มีสายงานผู้บริหารเป็นระบบ

จุดด้อย
1. ไม่ได้ใช้ IT ในการพัฒนาระบบ
2. มีการพัฒนาแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ
3. มีการใช้งบในการปรับปรุงสูง


ข้อเหมือน
1. มีการกำหนดขั้นตอนแน่นอน
2. มุ่งเน้นคุณภาพ
3. มีการกำหนดเงื่อนไข
4. มีการวิเคราะห์
5. มีการบำรุงรักษา

จุดเด่น
1. ใช้ IT ในการพัฒนาระบบ
2. ลำดับกิจกรรมเป็นขั้นตอนใช้ง่าย
3. เน้นการออกแบบระบบสารสนเทศ
4. ปรับปรุงทำทั้งระบบพร้อมกัน
5. ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ
6. มั่นใจในความสำเร็จแม้นหัวหน้าลาออก

จุดด้อย
1. ไม่ได้ให้ความสำคัญของลูกค้า
2. ไม่สามารถทำเพียงบางส่วนของระบบ
3. ไม่ได้เน้นผลกำไร
4. การออกแบบบางครั้งไม่เป็นไปตามผู้ใช้ต้องการ



เอกสารอ้างอิงจารึก ชูกิตติกุล. (2548). “เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ปรัชญา สาระ และวิทยานิพนธ์”
วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 8 เดือนตุลาคม 2548.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2546). คู่มือปฏิบัติ Six Sigma เพื่อสร้างความเป็นเลิศใน
องค์กร. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วชิรพงษ์ สาลีสิงห์. (2548). ปฏิวัติกระบวนการทำงานด้วยเทคนิค Six Sigma ฉบับ Champion และ Black Belt. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
Antonico Calos Tonini,Mauro de Mesquita Spinola and Fernando Jose Barbin Laurindo(2006).
Six Sigma and Software development Process: DEMAIC Improvements, PICMET.
Basu, Ron and Wright, Nevan. (2003). Quality Beyond Six Sigma. Oxford : Butterworth-
Heineman.
Brue, Greg. (2005). Six Sigma for Managers. New York : McGraw-Hill.
Craig Gygi, Neil Recarlo and Bruce Williams(2005). Six Sigma for Dummies, Wiley Publishing Inc,
Evans, James R. and Lindsay, William M.(2005). An Introduction to Six Sigma & Process
Improvement. Ohio : Thomson.
Kendall, K.E. and Kendall, J.E.(1998). System analysis and design, 4th ed., Prentice Hall
International. William, D.S.(1994). Business Systems Analysis and Design, International Thomson.Publishing.